ความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

นภสร อินสมตัว, ภัครดา ฉายอรุณ

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน จำแนกตามปัจจัยด้านบุคคล 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน และ 5) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .891 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านงานของบุคลากรโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X=3.504, S.D.= .446) 2) ความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X=3.551, S.D.=.493) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 3) ปัจจัยด้านบุคคล คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน มีผลต่อความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านความเป็นประชาธิปไตยในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่อายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่นอย่างมีนัยสำคัญ 4) ปัจจัยด้านงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงาน ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ และ 5) ปัจจัยด้านงานสามารถทำนายความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ

คำสำคัญ: ความคาดหวัง, คุณภาพชีวิตการทำงาน, มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

The purposes of this research were 1) to study working factors of personnel of Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus 2) to study quality of working life expectation of personnel of Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus 3) to study compare quality of working life expectation of distinguished by personal factors, 4) to study relationship between working factors , and 5) to study factors which could predict quality of working life expectation. The sample size was composed of 340 personnel of Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, Pearson product moment correlation coefficient and simple linear regression analysis at .05 level of statistical significance.

The results of research showed that 1) overall working factors of the personnel were at a high level (X=3.504, S.D.=.446). 2) Quality of working life expectation overall was at a high level (X=3.551, S.D.=.493). The hypothesis testing indicated that 3) monthly income was the factor that significantly affected quality of working life expectation overall. When each aspect was considered, it was found that gender, age, education, monthly income and period of working significantly affected quality of working life expectation in terms of organizational democracy, while age and monthly income significantly affected quality of working life expectation in terms of the balance between working life and personal life. 4) Working factors of the personnel significantly correlated with quality of working life expectation overall and in all aspects. It was also found that 5) working factors were able to predict quality of working life expectation significantly.

Keywords: expectation, quality of work life, autonomous university, Kasetsart University


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.54

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus