ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม

อณัณญา กิตติถาวร, โชติมา แก้วกอง

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยองค์กร และ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมกับทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม จำนวน 51 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .887 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวอยู่ในระดับมาก (X=.808, S.D.=.145) 2) ทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก (X=3.923, S.D.=.567) 3) ผลการทดสอบการเปรียบเทียบทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (t=-2.603, p-value=.012) อายุ (F=3.873, p-value=.028) และตำแหน่งงานในโรงสีข้าว (F=3.380, p-value=.042) พบว่า มีผลต่อทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระดับการศึกษา (F=1.070, p-value=.351) และประสบการณ์บริหาร (F=0.723, p-value=.490) พบว่า ไม่มีผลต่อทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการทดสอบการเปรียบเทียบทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคม จำแนกตามปัจจัยส่วนองค์กร ได้แก่ กำลังการผลิต (F=.023, p-value=.977) และจำนวนลูกจ้าง (F=.366, p-value=.695) พบว่า ไม่มีผลต่อทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับระยะเวลาในการดำเนินกิจการ (F=20.190, p-value=.000) พบว่า มีผลต่อทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมกับทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการบริหารจัดการบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในจังหวัดนครปฐม (r=20.190, p-value=.595)

คำสำคัญ: ทัศนคติ, การดำเนินกิจการ, ความรับผิดชอบต่อสังคม

 

The purposes of this research were 1) to study knowledge about corporate social responsibility of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province, 2) to study attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province, 3) to compare attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province classified by personal factors and 4) to study factors correlating with attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. 5) to study the relation between knowledge about corporate social responsibility and attitudes of rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. The simple random sampling technique was used in this research. The samples consisted of 51 of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. The data were collected by a questionnaire with Cronbach’s alpha confidence of .887. The statistics used to analyze the data in this research were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance (ANOVA), Pearson product moment correlation coefficient with the level of statistical significance at .05.

The results showed that 1) the entrepreneurs had knowledge about corporate social at a high level (X_=.808, S.D.=.145). 2) The attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of the entrepreneurs in Nakhon Pathom Province were at a high level (X_=3.923, S.D.=.567). 3) Sex (t=-2.603, p-value=.012), age (F=3.873, p-value=.028), position (F=3.380, p-value=.042) and operating period (F= 20.190, p-value=.000) significantly affected attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. 4) production capacity (F=.023, p-value=.977) and total number of employees (F=.366, p-value=.695) did not have a significantly influence on attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. However, years in business (F=20.190, p-value=.000) had a significantly influence on attitudes to rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province. 5) the relation between knowledge about corporate social responsibility and attitudes of rice mill management based on the social responsibility principle of rice mill entrepreneurs in Nakhon Pathom Province were independent (r= 20.190, p-value=.595).

Keyword: attitude, management, corporate social responsibility


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus