การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

จิรารัตน์ แสงศร, สุรีย์พร สว่างเมฆ, ปราณี นางงาม

Abstract


การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งในการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง และ 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งต่อการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 ห้อง รวม 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของครู แบบบันทึกประสบการณ์หลังเรียน และแบบทดสอบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่พัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ควรมีลักษณะดังนี้ การยกสถานการณ์ และรูปภาพประกอบกับการใช้คำถามช่วยกระตุ้นความสนใจ และการกำหนดให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาพื้นฐานที่จะเรียนล่วงหน้า ช่วยให้นักเรียนสามารถคาดคะเนคำตอบของภาระงานที่ถูกมอบหมายได้ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การทดลอง การสืบค้นหรือการบันทึกผลด้วยตนเองเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างข้อโต้แย้งชั่วคราว สำหรับการอภิปรายโต้แย้งกับกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดการแยกแยะข้อโต้แย้งและประเมินข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ภายหลังการโต้แย้งครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปข้อมูลอีกครั้งและให้นักเรียนเขียนรายงาน ประเมินรายงานของเพื่อน และปรับปรุงรายงานตนเอง การจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ส่งผลให้นักเรียนได้ระบุข้อสันนิษฐาน แปลงข้อมูล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล และระบุเหตุผล นำไปสู่การสร้างข้อสรุปที่สมเหตุสมผล และ 2) สมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

คำสำคัญ: การสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง, สมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์, การจัดการเรียนรู้, การสังเคราะห์ด้วยแสง

 

The objectives of this action research were to study 1) the Argument–Driven Inquiry (ADI) model learning management in developing the interpret data and evidence scientifically competency in the topic of photosynthesis and 2) the effect of Argument–Driven Inquiry model learning management to develop the Interpret data and evidence scientifically competency. The participants were 41 eleventh grade students of the Science, Mathematics and Technology program from a school in Phitsanulok of the 2015 academic year. The research instruments were the 3 lesson plans using ADI model and the data were collected by the reflective learning of teachers, the learning experience record of student and the interpretation of data and scientific evidence on photosynthesis test. The results indicated that 1) the ADI model learning management for develop the Interpret data and evidence scientifically competency should have characteristics were showing event, picture with question that stimulated their interest. In addition, students should inquiry the information about the basic content before studying that help students to predict the answer in assignment. Moreover, open the opportunity to students designed to collect data, experiment, inquiry or data recording by themselves for took this data to construct an initial argument for discussion and argument with another group. This affected to occur arguments distinguishing and scientific arguments evaluation. After argumentation that teacher and students discussed and concluded data together and assigned students to write the investigation report, assessed their friend’s report and revised their report. This affected to students identify an assumption, transform data, analysis and interpret data and explained reason leading to reasonable conclusion. Additionally, 2) student’s interpret data and evidence scientifically competency posttest score of higher more than pretest score by using ADI model learning management at the .05 significant statistically.

Keywords: Argument–Driven Inquiry model, the Interpret data and evidence scientifically competency, leaning management, photosynthesis


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.42

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus