การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรม การใช้บริการนวดแผนไทยของผู้บริโภคในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร

มนสิชา สุขชม, อุบลวัลย์ รอดเอี่ยม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยของผู้บริโภคในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร และเป็นการศึกษาเชิงรูปแบบการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ประชากรที่ใช้บริการนวดแผนไทยในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและได้ผลการวัดความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.920 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติไค-สแควร์ (Chi-square)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-15,000 บาท การเข้ารับบริการส่วนมากจะเลือกใช้บริการนวดแผนไทยในโรงพยาบาลภาครัฐ รูปแบบของการเลือกใช้บริการ คือ การนวดแผนไทย ความถี่ในการใช้บริการ คือ นานๆครั้ง เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่เลือกใช้บริการ คือ เพื่อรักษาสุขภาพ/การบำบัดรักษาโรค และความเชื่อมั่นในมาตรฐานการบริการ และการเข้ารับบริการส่วนใหญ่จะไม่เจาะจงเลือกพนักงาน 

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านบุคคลและพนักงาน 4.449 รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ 4.381 ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 4.323 และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 4.221 ส่วนปัจจัยที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ
ให้ความสำคัญมาก คือ ด้านราคา 4.172 ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย 4.101 และด้านการส่งเสริมการขาย 3.582 ตามลำดับ 

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของสถานบริการนวดแผนไทยในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, นวดแผนไทย


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus