การศึกษาคุณค่าและกระบวนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กรณีศึกษาจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

วรรณนา ศิลประเสริฐ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าและกระบวนการจัดตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในการให้การเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการก่อตั้งและการดำเนินการจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 390 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้ก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ผู้ดูแลจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว และนักท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ แบบสัมภาษณ์เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง โดยมีคำถามที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและมีการสอบถามข้อมูลแวดล้อมเพิ่มเติมในระหว่างการสนทนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณค่าในการก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวสามารถสรุปได้เป็น 3 ประการ คือ 1) คุณค่าในด้านการฟื้นฟูและธำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาวไท-ยวน ในตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) คุณค่าในด้านการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวไท-ยวน 3) คุณค่าในด้านการเป็นแหล่งเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งคุณค่าเหล่านี้สะท้อนผ่านการจัดแสดงภายในจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) สิ่งของที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไท-ยวน 2) หุ่นจำลองเหตุการณ์หรือวิถีชีวิตในอดีตของบรรพบุรุษชาวไท-ยวน 3) สิ่งของที่สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของท้องถิ่น 4) ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่ค้นพบในท้องถิ่น และ 5) หุ่นชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี
การก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวนั้นสืบเนื่องมาจากการฟื้นฟูศิลปะการทอผ้าตีนจกของชาวไท-ยวน โดยที่ผู้นำคนสำคัญ คือ ดร.อุดม สมพร ปราชญ์ชาวบ้านของตำบลคูบัวที่ต้องการฟื้นฟูการทอผ้าตีนจก อันเป็นวัฒนธรรมของชาวไท-ยวน ซึ่งหลังจากดำเนินการแล้วก็มีแนวคิดว่าควรจะต้องมีสถานที่สำหรับอนุรักษ์ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ของชาวไท-ยวน ไม่ให้สูญหายและเป็นการแสดงกตัญญูต่อบรรพบุรุษชาวไท-ยวนอีกทางหนึ่งด้วย จึงเกิดการก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวขึ้นมา ทั้งนี้ คณะผู้จัดตั้งได้ถือหลัก “ก่อสร้างต่อเติมทีละเล็กทีละน้อย” อันเป็นวิถีทางแบบ “ชาวบ้าน” ซึ่งกว่าจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลาถึง 18 ปี
2. ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการก่อตั้งจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว มี 5 ประการได้แก่ 1) มีแกนนำในการก่อตั้งที่เข้มแข็ง 2) คณะผู้ดำเนินการก่อตั้งมีความตั้งใจจริง มุ่งมั่น และดำรงความมุ่งหมายเดิม 3) คณะผู้ดำเนินการมีความเสียสละ 4) ความโปร่งใสในการบริหารงาน 5) ความตั้งใจเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
3. แนวทางการพัฒนาจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ ซึ่งมีอยู่เพียง 1 ไร่ 2 งาน และไม่มีที่ดินเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถขยายการดำเนินการในด้านกายภาพได้ ทำให้คณะผู้บริหารจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวกำหนดแนวทางการพัฒนาเอาไว้ 2 ประการ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พื้นที่ภายในอาคารบางส่วน 2) การจัดทำอุปกรณ์สำหรับจัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาการจัดแสดงและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้แก่คนภายในชุมชนและนอกชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

This research has three objectives: 1) to study value and the establishment process of the museum called Ban Khubua miscellaneous museum at Muang district of Ratchaburi
province as the place to learn lifestyle, culture, and local history 2) to study factors or conditions leading to the success in establishing and operating Ban Khubua miscellaneous museum at Muang district of Ratchaburi province 3) to study a guideline to develop Ban Khubua miscellaneous museum at Muang district of Ratchaburi province. The sample in this research is 390 people in Khubua sub-district, Muang district in Ratchaburi by means of Accidental Sampling method while the interviewers are the founder of Ban Khubua miscellaneous, the supervisor of this place, the chief administrator of Khubua Sub-district Administrative Organization and travelers. The research tools in this research are questionnaire and interview. The interviews were semi-structured with predefined questions and inquiries about the environment during the discussion. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation.
The findings were as follows:
1. Value in establishing Ban Khubua miscellaneous museum. Can be summarized into three aspects: 1) the value in the restoration and maintenance of the identity of the Tai-Yuan in Khubua sub-district, Muang district Ratchaburi province 2) The value in the field is a source of knowledge and wisdom of ancestors Tai-Yuan. 3) The value in the field of dissemination of knowledge about the way of life, culture and history of local communities. These values are reflected through the exhibition in Ban Khubua miscellaneous museum which is divided in 5 parts: 1) the reflection of culture and folk wisdom of the Tai-Yuan 2) the models to express past events and lifestyle of the ancestors of the Tai-Yuan 3) the reflection of latter period of the community’s history 4) art objects and antiques found in the local community and 5) models to express nationalities in Ratchaburi.
The founder of Ban Khubua miscellaneous museum is due to the revival of weaving Teenjok of Tai-Yuan. The key leader is Dr.Udom Somporn of the Philosophers, Khu Bua Jok restoration weaving a culture of the Tai-Yuan. After the operation, it is a concept that should be a place for conservative wisdom on various aspects of the Tai-Yuan. Not to be lost, and express gratitude to ancestors Tai-Yuan, another one. It was founded Ban Khubua miscellaneous museum have set up the general principles. “Construction with little by little” as a way of “folklore” which samples can be achieved over a period of up to 18 years.
2. The 5 factors or conditions that make success to the establishment and operation of Ban Khubua miscellaneous museum as aforementioned, according to the research, are: 1) strong founders 2) willful founder team on primary aim 3) sacrificial founder teams 4) the transparency in management 5) collective willingness to truly.
3. The guideline to develop Ban Khubua miscellaneous museum is limited because the superficies of this place are only 1.25 rai, no more land to extend for additional physical operation. The executive team have to set 2 guidelines, which are 1) the modification of some area of the building 2) The preparation of equipment for mobile exhibition, which will allow more content to showcase and disseminate knowledge to people within the community and outside the community more effectively.


Full Text:

PDF

References


จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว. (2550). จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว [แผ่นพับ]. ราชบุรี: จิปาถะภัณฑ์.

จิรโชค วีระสัย. (2540). มิติทางวัฒนธรรมในการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. เอกสารการประกอบการอบรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

นันทนา ศิริทรัพย์. (2556). เกณฑ์ EdPEx กับการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา. เอกสารประกอบการอบรมประกันคุณภาพการ ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 5-6.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 41ก. หน้า 3.

พิณวลี อังศุพันธุ์. (2551). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ บริหารจัดการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนัญญา นวลศรี. (2552). แนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอก ระบบโรงเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2530). พิพิธภัณฑ์กับการศึกษานอกระบบ. วารสารเมืองโบราณ, 13(3), 10-12.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2539). พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. เอกสารการประกอบการอบรมทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2523). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์. (2532). วัฒนธรรมกับการเสริมสร้างสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

องค์การบริหารส่วนตำบล. (2556). แหล่งที่มาของข้อมูลหมู่บ้าน. สืบค้นจาก http://www.kubua.go.th/default.php?include_modules=PB_plc_person&modules=fckeditor&fck_id=21&view_id=121&orderby=1




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus