การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ และความผูกพันของบุคลากร สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

อมรพรรณ พัทโร, จอมใจ เพชรกล้า

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากร และระดับความพึงพอใจและความผูกพันของบุคลากร โดยใช้แนวคิดทฤษฎีจูงใจ 2 ปัจจัย (Herzberg’s two-factor theory) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยบำรุงรักษา (ปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน) และปัจจัยจูงใจ ประชากรในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักวิทยบริการ จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมมีปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจระดับเกรด A 7 ปัจจัย จัดในกลุ่มปัจจัยบำรุงรักษาหรือปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน 6 ปัจจัย และอยู่ในกลุ่มปัจจัยจูงใจ 1 ปัจจัย สำหรับผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจจำแนกกลุ่มบุคลากรตามระดับตำแหน่งงาน พบว่า บุคลากรแต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นโดยเฉพาะปัจจัยที่อยู่ในระดับเกรด A แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มตำแหน่งตํ่ากว่าปฏิบัติงานเห็นว่า มีเพียง 2 ปัจจัย ส่วนกลุ่มตำแหน่งปฏิบัติงาน-ปฏิบัติการเห็นว่า มี 11 ปัจจัย กลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญงาน–ชำนาญการเห็นว่ามี 14 ปัจจัย และกลุ่มตำแหน่งระดับชำนาญงานพิเศษ–ชำนาญการพิเศษ เห็นว่ามี 4 ปัจจัย ทั้งนี้ ทุกกลุ่มเห็นร่วมกันว่า ปัจจัยเรื่องนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของผู้บริหาร เป็นปัจจัยระดับเกรด A ที่มีผลต่อความพึงพอใจของบุคลากร

ส่วนผลการศึกษาระดับความพึงพอใจ พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจต่อนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของผู้บริหารสูงสุดที่ระดับ 4.31 และเมื่อนำผลการสำรวจระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อองค์กรในช่วงเวลาเดียวกันมาทำการเปรียบเทียบกับระดับความคาดหวังของแต่ละปัจจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่อปัจจัยที่สำคัญ 7 ลำดับแรก มีระดับความพึงพอใจสูงกว่า 4.00 โดยมี 3 ปัจจัยที่ระดับความพึงพอใจสูงกว่าความคาดหวังของบุคลากร มี 4 ปัจจัย ที่มีระดับคะแนนความพึงพอใจตํ่ากว่าความคาดหวัง สำหรับผลการศึกษาความผูกพันของบุคลากรต่อสำนักวิทยบริการ 5 ด้าน พบว่า ระดับความผูกพันของบุคลากรในภาพรวมอยู่ที่ 4.05

คำสำคัญ: ปัจจัยสร้างบรรยากาศในการทำงาน ปัจจัยจูงใจ, ความพึงพอใจ, ความผูกพัน

 

The purposes of this study were to examine the factors which influenced staff satisfaction, as well as staff satisfaction and engagement among 71 staff members of the Office of Academic Resources (OAR). Data were collected by the questionnaires based on Herzberg’s two-factor theory, Hygiene factors and Motivation factors. Percentage, means and standard deviation were used for data analysis.

The findings revealed that there were 7 satisfaction factors of OAR staff in the A class. Six factors were classed as Hygiene factor and one as Motivation factor. Based on the staff position, there were 2 factors for the under operation position group, 11 factors of the under operation position group, 14 factors for the specialist group, 4 factors, for the higher specialist group. Finally, there were different factors impacting the satisfaction of different group of staff, except for the administrator’s policy.

The results of satisfaction, the highest level of staff satisfaction were the administrator’s policy at 4.31. The staff satisfaction with OAR in 7 factors were higher than 4.00. There were 3 factors which higher than expectation and 4 factors were lower than expectation. The result of staff engagement of OAR was 4.05.

Keywords: Hygiene Factor, Motivation Factor, Staff Satisfaction, Staff Engagement


Full Text:

PDF

References


พงษ์ศักดิ์ จรัสรังสีชล, มานพ จำรัส, เอื้อพร ดิคคินสัน, สุรัตน ประเสริฐสุข, และชาญชัย ติกขะปญโญ. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อความผาสุก ความผูกพันและความพึงพอใจของบุคลากร รพ. ค่ายสรรพสิทธิประสงค์. เวชสารแพทย์ทหารบก, 62(4), 207-219.

รพีพรรณ สุพรรณพัฒน์. (2554). การศึกษาความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ศิริวรรณ ฉายศิริ, วรนารถ แสงมณี, และอตินุช กาญจนพิบูลย์. (2550). ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กร ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน งานวิชาการ ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 6(2), 60-67.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.4

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus